White Channel

ประสบการณ์ ฟาติมะ วัย 19 ปี ชาวโรฮิงญาหนึ่งในผู้รอดชีวิต ลอยเรือในทะเล เกือบเดือนครึ่ง จากบังคลาเทศ สู่อินโดนีเซีย อาเจะห์

WORLD : ประสบการณ์ ฟาติมะ วัย 19 ปี ชาวโรฮิงญาหนึ่งในผู้รอดชีวิต ลอยเรือในทะเล เกือบเดือนครึ่ง จากบังคลาเทศ สู่อินโดนีเซีย อาเจะห์
.
ฟาติมะ เล่าว่า เธอขึ้นเรือมากับชาวโรฮิงญาคนอื่นๆประมาณ 200 กว่าคน หวังว่าจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีกว่าในต่างแดน
.
เราออกจากบังคลาเทศได้เพียง 5 วันเรือก็เสีย เพราะเรือไม่แข็งแรงพอที่จะเดินทางไกล
.
เราลอยในทะเลอยู่โดยไม่เห็นฝั่ง อยู่หลายวัน อาหาร และน้ำเริ่มหมด
.
ประมาณ 12 วันได้ หลังเรือเสีย มีชาย 5 คนพวกเขาพยายามว่ายน้ำไปในทิศทางต่างๆเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งในท้ายที่สุดพวกเขาก็ไม่กลับมาอีก เรารู้ว่าพวกเขาเสียชีวิตแล้ว
.
จากทั้งหมดประมาณ 200 กว่าคนมี 20 คนตายจากเราไป
.
ระยะเวลาอันแสนยาวนานในทะเล เดือนครึ่งในที่สุดเราก็ลอยมาถึง อาเจะห์ อินโดนีเซีย ในสภาพใกล้ตาย[ 26 ธันวาคม 65]
.
จนท.อาเจะห์ อาสาสมัครได้พาชาวโรฮิงญาที่รอดชีวิตจากความตายในทะเล จำนวน 185 คน เข้ารับการรักษาโดยด่วน เนื่องจากร่างกายขาดน้ำและอาหาร
.
“เราคือคนที่หนีออกจากพม่าและลี้ภัยในบังกลาเทศ เราต้องนั่งเรือเพื่อมีชีวิตที่ดีขึ้น พ่อแม่ของเราเสียชีวิตแล้ว การเป็นผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศหมายความว่าเราไม่สามารถได้รับการศึกษาที่ดี เราไม่สามารถแต่งงานได้ และ เรายากจนมาก นั่นคือเหตุผลที่เราออกจากค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ”Samusa Khatun ชายชาวโรฮิงญาผู้รอดชีวิต ที่ขึ้นฝั่งอาเจะห์กล่าว

ทั้งชาวโรฮิงญาในค่ายผู้ลี้ภัยบังคลาเทศ ทั้งชาวโรฮิงญาทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ มีความยากลำบากในการดำรงชีวิต เนื่องจากการขาดแคลนโอกาสในการทำงานและขาดอิสระภาพ พวกเขาจึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อไปยังต่างประเทศ หรือประเทศที่ 3
.

ชีวิตที่ดีขึ้นต้องแลกมาซึ่งความเสี่ยงถูกจับและเสียชีวิต

.
ชาวโรฮิงญาติดต่อกับโบรกเกอร์ ประเทศไทย มาเลเซีย เพื่อเดินทาง แต่ก็มีชาวโรฮิงญาบางส่วนถูกจับในเมียนมาขณะพยายามเดินทางออกนอกประเทศ นอกจากนี้หลายๆกรณีต้องเผชิญกับเรือพังและลอยอยู่ในทะเลเป็นเวลาหลายวัน
.
ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมเพียง 2 เดือน มีชาวโรฮิงญา 500 คนที่ขึ้นฝั่งที่อาเจะห์ มูฮัมหมัด ราฟกี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในอาเจะห์ ซึ่งให้ความช่วยเหลือชาวโรฮิงญา กล่าวและว่า การช่วยเหลือคนเหล่านี้เป็นความรับผิดชอบระหว่างประเทศ
.
“ฉันสงสัยว่ามีเรือผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากี่ลำที่ยังอยู่ในทะเล และใครบ้างที่ยังต้องการความช่วยเหลือจากเรา สิ่งที่ฉันอยากจะบอกกับประชาคมระหว่างประเทศก็คือ มันเป็นสิทธิมนุษยชนสำหรับผู้ลี้ภัยในการขอลี้ภัย มันเป็นความรับผิดชอบของเราที่จะต้องช่วยให้พวกเขาได้รับการลี้ภัย”
.
อ้างอิง
https://youtu.be/j6v8cDoPMYw
.

ขุนคมคำ

error: ขอบคุณที่ติดตามครับ