ชาวอาเจะห์ยอมรับเหนื่อยใจช่วยโรฮิงญา วอนรัฐพาไปที่พักพิงอื่น – White Channel

White Channel

ชาวอาเจะห์ยอมรับเหนื่อยใจช่วยโรฮิงญา วอนรัฐพาไปที่พักพิงอื่น

WORLD : ชาวอาเจะห์ยอมรับเหนื่อยใจช่วยโรฮิงญา วอนรัฐพาไปที่พักพิงอื่น
.
28 ธันวาคม 65 ชาวประมงในอาเจะห์ อินโดนีเซีย ยอมรับเริ่มเหนื่อยกับการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่ถูกพบกลางทะเล ในบางครั้งพวกเขาลังเลที่จะช่วยเหลือ เนื่องจากผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามักสร้างปัญหา และ หนีออกจากที่พักพิง
.
Beni Murdani ซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง Lhokseumawe จ.อาเจะห์ กล่าวว่าพวกเขารู้สึกกังวล เพราะหลายครั้งที่ผู้ลี้ภัยอารมณ์เสีย ขี้โมโห
.
“เพราะพวกเขาคิดว่า พวกเขากำลังมีปัญหา ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถทำทุกอย่างที่พวกเขาต้องการได้ ราวกับว่า นี่คือที่ของพวกเขา ตัวอย่างเช่น พวกเขาขโมยมะพร้าวจากชาวบ้านโดยไม่ขอ” Beni กล่าว
.
อีกปัญหาหนึ่ง เคยมีผู้หญิงในท้องถิ่นของอาเจะห์”ถูกทำร้ายโดยผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา”
.
จากนั้น ในหลายกรณี ผู้ลี้ภัยถูกจับได้ว่าหลบหนี ชาวบ้านในท้องถิ่นก็ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการหลบหนีนั้น
.
“เมื่อมีคนหนี สิ่งที่ทำให้ชาวอาเจะห์เจ็บปวดก็คือ พวกเขา(โรฮิงญา)บอกว่ามีชาวอาเจะห์ พยายามพาพวกเขาไป หรือ บงการอยู่เบื้องหลังให้พวกเขาหนี” เขากล่าว
.
“การปรากฏตัวของพวกเขาทำให้เราวิตกกังวล” เขากล่าวต่อ
นั่นเป็นเหตุผลที่เราเรียกร้องให้รัฐบาลวางแผนพาผู้ลี้ภัยโรฮิงญาออกนอกอาเจะห์
.
รัฐบาลชาวอินโดนีเซียกำลังหารือร่วมกับ UNHCR เกี่ยวกับการส่งผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนไปยังสถานที่พิเศษ หลังจาก “การปฏิเสธจากชาวอาเจะห์จำนวนหนึ่ง
.
บัมบัง พริสตีวันโต ผู้ช่วยรองด้านการประสานงานอาชญากรรมข้ามชาติและอาชญากรรมวิสามัญ กระทรวงการเมือง กฎหมาย และความมั่นคง กล่าวว่า รัฐบาลเข้าใจความรู้สึกของชาวอาเจะห์จำนวนหนึ่งที่คัดค้านการมีอยู่ของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
.
นั่นเป็นเหตุผลที่รัฐบาลกำลังหารือและประสานงานกับองค์กร UNHCR และ IOM เพื่อให้ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอยู่ในสถานที่พิเศษ
.
ก่อนหน้านี้ไม่กี่สัปดาห์เรือ 2 ลำที่บรรทุกชาวโรฮิงญา 231 คน ได้เกยตื้นในเขตอาเจะห์ และเขตปีดี ซึ่งรวมกับจำนวนครั้งล่าสุด ทำให้มีผู้ลี้ภัยเกือบ 500 คน
.
จนถึงขณะนี้ อินโดนีเซียยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสถานะของผู้ลี้ภัย (อนุสัญญาปี 1951) และพิธีสารที่เกี่ยวข้องกับสถานะของผู้ลี้ภัย (พิธีสารปี 1967) ดังนั้น อินโดนีเซียจึงไม่มีภาระผูกพันในการรับผู้ลี้ภัยที่เข้ามา
.
อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียยินดีที่จะเป็นประเทศที่รองรับผู้ลี้ภัยต่างชาติชั่วคราวด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม
.
อ้างอิง
https://id.berita.yahoo.com/pengungsi-rohingya-dinilai-kerap-berulah-171709700.html?guccounter=1
.

ขุนคมคำ

error: ขอบคุณที่ติดตามครับ