ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธของออสเตรเลีย ค้นพบเบาะแสที่น่าสนใจว่าด้วยความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างการแคะจมูกกับภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ – White Channel

White Channel

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธของออสเตรเลีย ค้นพบเบาะแสที่น่าสนใจว่าด้วยความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างการแคะจมูกกับภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

WORLD : ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธของออสเตรเลีย ค้นพบเบาะแสที่น่าสนใจว่าด้วยความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างการแคะจมูกกับภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
.
รายงานวิจัยข้างต้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports ระบุว่าได้มีการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยทำให้หนูจำนวนหนึ่งติดเชื้อแบคทีเรีย Chlamydia pneumoniae ที่ก่อโรคปอดอักเสบหรือปอดบวมในมนุษย์
หนูทดลองกลุ่มนี้ติดเชื้อดังกล่าวผ่านการคุ้ยแคะจมูก จนเยื่อบุโพรงจมูกด้านในได้รับความเสียหาย เปิดทางให้แบคทีเรียโรคปอดอักเสบเข้าสู่สมองได้ง่าย โดยจะเกิดการติดเชื้อแพร่กระจายไปตามเส้นประสาทรับกลิ่น ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างโพรงจมูกกับสมอง
.
ก่อนหน้านี้มีการค้นพบว่า ผู้ป่วยสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ระยะท้าย ๆ มักจะมีร่องรอยของเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวอยู่ในสมอง ทั้งยังปรากฏคราบโปรตีนเบตาอะไมลอยด์ (amyloid-beta plaque) สะสมตัวอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งคราบโปรตีนนี้เกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อ และเชื่อว่าอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอัลไซเมอร์
.
ทีมผู้วิจัยรายงานว่า หนูในการทดลองครั้งล่าสุดมีคราบโปรตีนเบตาอะไมลอยด์ปรากฏในสมองค่อนข้างมากหลังติดเชื้อ ซึ่งถือเป็นการพิสูจน์ครั้งแรกของโลกที่แสดงให้เห็นว่า การติดเชื้อในโพรงจมูกที่แพร่กระจายไปสู่สมอง สามารถทำให้เกิดพยาธิสภาพหรืออาการที่ดูเหมือนโรคอัลไซเมอร์ขึ้นได้ ภายในเวลาอันสั้นเพียง 24-72 ชั่วโมงเท่านั้น
.
แม้จะยังไม่ได้ทำการทดลองในมนุษย์ แต่ทีมผู้วิจัยเห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการติดเชื้อแบบเดียวกันกับคนเรา ทั้งยังเตือนให้หลีกเลี่ยงการแคะขี้มูก ถอนขนจมูก หรือกระทำการใด ๆ ที่รบกวนเนื้อเยื่อบุโพรงจมูกอันบอบบางไว้ก่อน เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ลง
.
ผลวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ว่าประชากรโลกถึง 9 ใน 10 คน มีนิสัยชอบแคะจมูก รวมทั้งสัตว์หลายชนิดก็มีพฤติกรรมดังกล่าวด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอัลไซเมอร์
.
“ภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ไม่ได้เกิดจากความชราเท่านั้น ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ตอนที่คุณมีอายุเกิน 65 ปี แต่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ รวมทั้งการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียด้วย” ทีมผู้วิจัยกล่าวสรุป
.
ที่มา BBC
.

error: ขอบคุณที่ติดตามครับ