White Channel

รู้จัก ‘ซีเซียม-137’ ใช้ทำอะไร อันตรายแค่ไหนต่อสุขภาพ และ สิ่งแวดล้อม

SOCIAL : รู้จัก ‘ซีเซียม-137’ ใช้ทำอะไร อันตรายแค่ไหนต่อสุขภาพ และ สิ่งแวดล้อม
.
เป็นกรณีที่สังคมไทยจับตา เมื่อ วัสดุกัมมันตรังสี “ซีเซียม 137” ที่ติดอยู่ปลายท่อโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ใน อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี โดยบริษัทไม่รู้ว่าหายไปเมื่อไหร่
ซึ่ง คนต่างให้ความสนใจว่า “ซีเซียม 137” นี้ คืออะไร และจะสร้างผลกระทบอย่างไรบ้าง
สำหรับ ซีเซียม 137 เป็นโลหะที่มีแบบเสถียรและไม่เสถียร มีประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากมีแรงรังสีสูง พบอยู่ในฝุ่นกัมตรังสีเป็นสารเปรอะเปื้อนตัวหนึ่งในสิ่งแวดล้อม
ซีเซียม 137 นั้น ถือเป็นไอโซโทปรังสีที่นิยมมาใช้ด้านอุตสาหกรรมมากที่สุดตัวหนึ่ง มีเครื่องมือนับพันชนิดที่ใช้ซีเซียม อาทิ
– เครื่องวัดความชื้นและความหนาแน่น ที่ใช้กันในอุตสาหกรรมก่อสร้าง�– เครื่องวัดระดับ ใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวัดการไหลของเหลวในท่อและแท็งก์�– เครื่องวัดความหนา สำหรับวัดความหนาของโลหะ กระดาษ ฟิล์ม และผลิตภัณฑ์อื่นอีกมาก�– เครื่องหยั่งธรณี ในอุตสาหกรรมการขุดเจาะ เพื่อช่วยบอกลักษณะเฉพาะของชั้นดินและหินต่างๆ�– ใช้ในทางการแพทย์ โดยใช้บำบัดมะเร็ง เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมา มาตรฐานสำหรับการปรับเทียบระบบการวัดรังสีแกมมาในห้องปฏิบัติการวิจัยทางรังสี
.
ส่งผลกระทบ ทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
ซีเซียม 137 เป็นกัมมันตรังสี เมื่อสลายตัวจะปลดปล่อยอนุภาคบีตา และ รังสีแกมมา พลังงานสูง สลายตัวไปเป็น แบเรียม 137 ทั้งนี้ ครึ่งชีวิตของซีเซียม 137 คือ 30.17 ปี ด้วยสมบัติทางเคมีธรรมชาติของซีเซียม ทำให้เข้าสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่าย ยากจะทำความสะอาดซีเซียม 137
ทั้งนี้ มนุษย์อาจได้รับซีเซียม จากอาหาร น้ำดื่ม และ สูดดมฝุ่น ถ้าซีเซียมเข้าสู่ร่างกาย จะกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ตลอดเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย ทำให้เนื้อเยื่อได้รับรังสี จากการวิจัยพบว่ามีปริมาณของโลหะสะสมที่กล้ามเนื้อ มากกว่าบริเวณอื่นเล็กน้อย และ พบการสะสมน้อยกว่าในกระดูกและไขมัน
.
ความเสี่ยงต่อสุขภาพ
เสี่ยงเป็นมะเร็ง ปกติเราจะได้รับรังสีซีเซียม-137 ในปริมาณที่น้อยมาก แต่หากได้รับรังสีจากกากกัมมันตรังสีในบริเวณที่เปรอะเปื้อน หรือจากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงมะเร็งสูง เมื่อเข้าสู่ร่างกาย บางส่วนจะถูกขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะ บางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ ตับ ไขกระดูก หากได้รับในปริมาณมาก หรือเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมหรือพันธุกรรม
หากสัมผัสวัสดุกัมมันตรังสีโดยตรง ผู้สัมผัสจะเกิดผื่นแดง หรือเป็นแผลไหม้บริเวณที่สัมผัสวัสดุ หากได้รับในปริมาณรังสีสูงมาก ๆ จะทำให้เกิดการไหม้ของผิวหนังอย่างรุนแรง อาจส่งผลถึงชีวิตได้
สำหรับกรณีท่อบรรจุสารซีเซียม-137 ที่หายไปจากโรงงานจ.ปราจีนบุรี เป็นวัสดุกัมมันตรังสีที่มีตะกั่วปกป้องอยู่ชั้นในและห่อหุ้มด้วยเหล็ก วัสดุกัมมันตรังสีจะอยู่ในชั้นในสุด หากยังอยู่ในสภาพเดิมจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม แต่หากมีการถอดประกอบ หรือชำแหละเครื่องกำบัง จนทำให้วัสดุกัมมันตรังสีมีลักษณะเปลือยเปล่า จะมีรัศมีการแผ่รังสีออกจากวัสดุกัมมันตรังสีประมาณไม่เกิน 1-2 เมตร และหากมีการผ่าท่อรังสี จะทำให้ผิวหนังของผู้ที่สัมผัสเนื้อเน่าเปื่อยภายใน 3 วัน
.
ข้อควรปฏิบัติหลังการสัมผัส
ฃดการปนเปื้อน โดยล้างตาให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปทางหางตาด้วยน้ำสะอาด ล้างมือ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีถ้าสามารถทำได้ และควรเก็บเสื้อผ้าใส่ถุงปิดปากให้สนิท เพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่
ไปลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนด ให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์ เพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี
ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบยุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนำมือสัมผัสบริเวณภายในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่อันตราย
อาการที่ควรไปพบแพทย์ คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวมากกว่า 2 ครั้ง มีไข้ หนาวสั่น ชักเกร็ง มีเลือดออกที่ใดที่หนึ่งภายในหนึ่งสัปดาห์หลังโดนรังสี หรือ มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี
.
มติชน

error: ขอบคุณที่ติดตามครับ