เสียหายเมื่อละเลยสายกลาง
#แนวทางที่เที่ยงตรง
4 MIN.READ
…
ไม่มีนักวิชาการสมัยสลัฟเขาทะเลาะกัน
เขาโต้เถียงกันจริง ทะเลาะกันไม่มี แล้วเมื่อไหร่ทะเลาะกัน
เกิดการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างนักวิชาการ ระหว่างวิชาการกัน
เมื่อภาครัฐเข้ามาฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด อำนาจนะ
อำนาจเข้ามาเลือก มั๊วะตะซิละฮฺได้รับการคุมครองจาก – 5
อาณาจักรอับบาซียะฮฺช่วงหนึ่ง อับบาซียะฮฺก็เลยข่มเหง
อะกีดะฮฺสลัฟ อิหม่ามอะหมัด โดนเข่นฆ่าโดนเหยียดหยาม
เนี่ยพอรัฐเข้ามาฝักใฝ่ความคิดอันหนึ่งอะนะ
จะเกิดสงครามระหว่างความคิด นองเลือดเลย
ยุคหนึ่งอาณาจักรอับบาซียะฮฺเหมือนกันอำนาจของคอลีฟะฮฺนี่ -10
สลายแตกกลายเป็นอำนาจเป็นก๊กอะ แต่คิลาฟะฮฺในช่วงที่
อ่อนแอนี่นะ เป็นสิบ ๆ ก๊กเลย ไม่ใช่สามก๊ก แล้วแต่ละก๊กก็เลือก
เลือกมัซฮับ เลือกทัศนะ ก๊กหนึ่งเลือกมัซฮับอะชาอิเราะฮฺ
อีกก๊กหนึ่งเลือกอะกีดะฮฺสลัฟ นั่นนะศตวรรษที่ 4 ที่ 5
ก๊กหนึ่งเลือกมัซฮับชาฟิอีย์ ก๊กหนึ่งเลือกมัซฮับฮานาฟี สงครามนะครับ -15
ศตวรรษที่ 4 เกิดสงครามระหว่างชาฟิอียะฮฺ กับ ฮานะฟียะฮฺ สู้รบกัน
เพราะอะไร เพราะรัฐ ๆ เข้ามาฝักใฝ่ รัฐนี่ได้โปรดอย่ามายุ่งกับวิชาการ
ปกครองแผ่นดิน ดูท่าเรือ ดูสนามบิน ดูธุรกิจเข้าออก กำหนดกฏหมาย
บริหารจัดการเรื่องเศรษฐกิจ ไปคุมดูตลาดอย่าให้เขาโกงตาชั่ง
อย่าไปเสียเวลากับ เออฉันเข้าข้างนักวิชาการนี้ปกป้องคุ้มครอง -20
แล้วคนอื่นโดนเล่นงาน นี่ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐ
รัฐไม่มีหน้าที่ที่จะเข้ามาบริหารความคิดของชาวบ้าน
ความคิดเนี่ยให้เปิดเป็นอิสระ อำนาจของรัฐเนี่ยจริง ถ้าชาวบ้านเขาคิด
แล้วทะเลาะกันเนี่ย รัฐจะต้องแยกคนทะเลาะเนี่ย ห้ามทะเลาะนะ
จะต้องมาอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย ให้ความคิด -25
มีบรรยากาศที่ดี บรรยากาศที่สร้างสรรค์ นี่อำนาจของรัฐ
แต่ไม่ใช่อำนาจของรัฐนี่ ฉันเลือกทัศนะนี้ เลือกลัทธินี้ เลือกฝ่ายนี้
เลือกฝ่ายโน้น อีกฝ่ายอื่นโดนเล่นงานติดคุก
นี่ผมยกตัวอย่างนะบางคนก็สะดุ้งแต่มันเป็นเรื่องจริง ก็ต้องพูด
คิลาฟะฮฺอับบาซียะฮฺเคยยึดมัซฮับมั๊วะตะซิละฮฺ ก็เลยข่มเหง -30
อะกีดะฮฺสลัฟอะฮฺลิซซุนนะฮฺ มาถึงยุคหนึ่งอับบาซียะฮฺยึดมั่น
ในมัซฮับอะชาอิเราะฮฺ ข่มเหงมัซฮับฮะนะบีละฮฺที่เขาไม่เอาด้วยกับอะชาอิเราะฮฺ
อะนี่มายุคล่าสุดนี่นะอาณาจักรซาอุดี้ ก็ยึดในแนวทางมูฮำหมัดอิบนิวะฮาบ
ที่เขาเรียกว่าวะฮาบีนั่นแหละ ยึดแนวทางมูฮำหมัดอิบนิวะฮาบ
แล้วก็แนวอื่นมองว่าเป็นเฎาะลาละฮฺเป็นคนที่หลงเป็นคนที่ไม่เอาศาสนา -35
ไม่เอากิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺแล้วก็ผลิตนักวิชาการที่มีความคิดแบบนี้
ความคิดแคบ ความคิดที่คนอื่นทั้งหมดที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเอง หลงหมด
แค่ไม่เห็นด้วยในเรื่องอะกีดะฮฺนิด ๆ หน่อย ๆ หลงละ
ความสุดโต่งที่มันไม่ได้เกิดจากวะซะฏียะฮฺ ความสุดโต่งที่มาจากการ
มีใจแคบ มีมุมมองที่แคบ นี่ ๆ เห็นแคบเนี่ย มุมที่มันแคบอะ -40
มันก็จะเห็นนิดเดียว ถ้ามุมกว้างแบบเนี่ย มันจะเห็นกว้าง
มุมแคบที่ไม่เห็นใจคนอื่น ไม่เห็นเหตุผลคนอื่น
เพราะมองเหตุผลของตัวเองถูกต้องอย่างเดียว
เราต้องปรับปรุงแก้ไขความคิดนี้