White Channel

Hilight แนวทางที่เที่ยงตรง ประชาชาติที่อยู่ในแนวกลาง

ประชาชาติที่อยู่ในแนวกลาง

#แนวทางที่เที่ยงตรง

4 MIN.READ

ประชาชาติที่อยู่ในแนวกลางคือประชาชาติที่ยึดมั่นความถูกต้อง

แนวกลางไม่ใช่หมายถึงว่าอยู่ระหว่างขวากับซ้าย

เส้นทางร้อยเมตร อยู่ในระหว่างจุด 50 เมตร อันนี้ไม่ใช่

นี่คืออาจจะเป็นนิยามคำว่ากลางในด้านวิศวกรในด้านวิชาเลขมากกว่า

แต่คำว่าวะซะฏอในด้านปรัชญาหรือแม้กระทั่งในด้านภาษา

 

ภาษาอาหรับนี่คำว่าวะซะฏอ “เอาซะตุลอุมูร อะอฺดะลุฮา”

สิ่งที่อยู่ในแนวกลางคือสิ่งที่มันยุติธรรมที่สุด คือที่ถูกต้องที่สุด

มาตรฐานความถูกต้องที่อยู่ในศาสนาอิสลาม

นั่นคือมาตรฐานของแนวกลาง เพราะความถูกต้องย่อมเป็นแนวกลาง

ความถูกต้องนั่นที่มันสอดคล้องกับตัวบททุกประเภท -10

 

ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ หรือเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ไป

สมมติเรื่องหนึ่ง สัมผัสกุรอานโดยมีน้ำละหมาดหรือไม่มีน้ำละหมาด

ทัศนะหนึ่งบอกว่าจะอ่านกุรอาน อยากจะจับกุรอานและอ่าน

โดยไม่มีน้ำละหมาด หรือมีหะดัษใหญ่มีญะนาบะฮฺยังไม่ได้ยกหะดัษ

ทัศนะหนึ่งบอกว่าได้ อีกทัศนะหนึ่งบอกว่าไม่ได้เลย -15

 

ถ้ามีหะดัษเล็กหรือหะดัษใหญ่นี่ห้ามสัมผัสอัลกุรอาน

ในอิสลามไม่ใช่หมายความว่า 2 ทัศนะนี่

อยู่ตรงไหนแล้วเราเลือกตรงกลาง จะได้ถือว่าเป็นคนกลาง ไม่ใช่

สมมติว่ามุมมองหนึ่งได้วินิจฉัยแล้ว

ทัศนะหนึ่งบอกว่าสัมผัสกุรอานโดยไม่มีน้ำละหมาดเลย -20

 

 

อีกทัศนะหนึ่งบอกว่าไม่ใช่ ที่ไม่อนุญาตให้สัมผัส

 

ความเป็นวะซะฏออยู่ตรงไหน ความเป็นวะซะฏอ ความเป็นกลางเนี่ย

ไม่ใช่หมายรวมว่าต้องยึดในทัศนะหนึ่งทัศนะใด ในประเด็นนั้น ๆ

การที่ผมยึดในทัศนะนี้อาจจะอยู่ข้างขวา  -25

 

หรือจะยึดในทัศนะนี้อยู่ข้างซ้าย อันนั้นไม่ขัดกับความเป็นกลาง

ต่อเมื่อการที่ยึดมั่นและยึดปฏิบัติในทัศนะหนึ่งทัศนะใดเนี่ย

ไม่ทำให้การยึดปฏิบัติในทัศนะนั้น ๆ ได้เสียหายหรือได้ขาดทุน

หรือได้คัดค้านกับหลักฐานอื่น ๆ กับเรื่องอื่น ๆ ที่ทำให้มีความสมดุล

เช่น อุละมาอฺที่บอกว่า สัมผัสกุรอานโดยไม่มีน้ำละหมาดสัมผัสได้ -30

 

เพราะไม่มีหลักฐานบังคับใช้ให้มีน้ำละหมาด

เขาบอกว่าเนี่ยแบบเนี่ยทำให้การอ่านกุรอานง่าย คนจะได้อ่านง่าย

ไม่มีเงื่อนไขไม่มีอะไร อยากจะนึกจับกุรอานเมื่อไหร่ก็จับได้

อีกมุมมองหนึ่งเขาบอกว่ากุรอานไม่ใช่หนังสือพิมพ์เหมือนหนังสืออื่น

ต้องให้เกียรติหน่อย จะสัมผัสกุรอานก็ต้องมีน้ำละหมาดซิ 35

 

พูดด้วยเหตุผลแบบนี้นะครับ ไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากว่า

ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเริ่มยึดในทัศนะของตัวเอง แล้วก็มองอีกทัศนะหนึ่ง

ว่าเป็นทัศนะตรงข้ามที่ต้องต่อต้าน ต้องประณาม ต้องเหยียดหยาม

ต้องขจัดออกจากกระบวนการวินิจฉัย ขับไล่เลยจากองค์ความรู้

ที่มีอยู่ในอิสลามนั้นนะ อันเนี่ยจะไม่เป็นวะซะฏอ -40

 

แม้ว่าเรายึดมั่นในทัศนะที่มีหลักฐานถูกต้อง มีหลักฐานแข็งแรงกว่า

อันนั้นนะไม่ใช่วะซะฏอ ความเป็นกลางเนี่ย

คือเราสร้างความสมดุล แม้ว่าจะยึดในทัศนะหนึ่งทัศนะใด

ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดในศาสนาต่าง ๆ

error: ขอบคุณที่ติดตามครับ