White Channel

คำชมที่ไม่สร้างสรรค์ (เขียนโดย คุณครู ขนมปัง)

เคยได้ยินตลอดว่า นบีห้ามการชม ถึงขั้นมีฮะดีษว่า เวลาคนชมให้เขวี้ยงทรายใส่หน้าด้วยซ้ำ อ่านจากภาษาไทย อ่านฮะดีษนี้ตั้งแต่มัธยม แต่เพิ่งมาดูตัวบทภาษาอาหรับว่า คนชมดังกล่าว ใช้คำว่า อัลมัดดาฮีน (المَدَّاحِين) ที่น่าจะแปลว่า “คนชอบอวย ชอบชมประจบประแจง” มากกว่าจะแปลว่า คนชม เพราะคำว่า อัลมัดดาฮฺ (المَدَّاح) เป็นขั้นกว่า (صيغة مبالغة) ของ มาดิฮฺ (مَادِح) ที่แปลว่า คนที่กล่าวชม

 

ในคำอธิบายฮะดีษ ในหนังสือสุนันฯ ของอะบีดาวูด อิมามอัลค็อฏฏอบีย์กล่าวว่า :

 

المداحون هم الذين اتخذوا مدح الناس عادة وجعلوه بضاعة يستأكلون به الممدوح ويفتنونه ، فأما من مدح الرجل على الفعل الحسن والأمر المحمود يكون منه ترغيباً له في أمثاله وتحريضاً للناس على الاقتداء به في اشباهه فليس بمداح وإن كان قد صار مادحاً بما تكلم به من جميل القول فيه .

          “อัลมัดดาฮูน คือคนที่ชมคนอื่นเป็นนิสัย และใช้การชมเป็นวิถีหากินกับคนถูกชม และสร้างฟิตนะฮต่อเขา ส่วนคนที่ชมคนอื่นเรื่องการงานที่ดีและสิ่งที่งามโดยที่คาดหวังว่าจะเป็นเช่นนั้นบ้าง หรือชมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนในการยึดเอาเป็นแบบอย่าง หรือที่ใกล้เคียงนี้ ไม่จัดว่าเป็น มัดดาฮฺ(คนขี้อวย) แม้ว่าคำสวยๆที่ชมนั้นจะทำให้เข้าข่ายว่าเป็นผู้ชมคนอื่นก็ตาม”

 

ในหนังสือ อุมดะฮฺ อัล-กอรีย์ฯ ที่อธิบายศอฮีฮฺบุคอรีย์ ได้กล่าวว่า


ومنذلكتأولالعلماءفيقولهاحثواالترابفيوجوهالمداحينأنالمرادبهم: المداحونالناسفيوجوههمبالباطلوبماليسفيهمولميردبهممنمدحرجلابمافيه, فقدمدحرسولاللهفيالأشعاروالخطبوالمخاطبةولميحثفيوجوهالمداحينالترابولاأمربذلك

          “และจากนี้เอง ผู้รู้ได้ตีความคำว่า “จงเขวี้ยงทรายใส่หน้าพวกมัดดาฮีน” หมายถึง พวกที่ขี้ชม ขี้อวยคนอื่น ในวิธีทางที่ไม่ถูกต้อง ชมในสิ่งที่ไม่มีจริงในตัวผู้ถูกชม โดยไม่ได้หมายถึงคนที่ชมในสิ่งที่พี่น้องคนนั้นเป็นจริง ๆ เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถูกชมในบทกวี ในการพูดต่อหน้าผู้คน และในการสนทนา แต่ท่านก็ไม่ได้ปาทรายใส่หน้าคนชมเหล่านั้น และไม่ได้สั่งให้ทำเช่นนั้นด้วย”

 

คำว่า “เขวี้ยงทรายใส่หน้า” หมายถึงจริงหรือเปรียบเปรย? มีทั้ง 2 ทัศนะ คือ (1) ให้เขวี้ยงใส่จริง ๆ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าจำเป็นต้องให้โดนหน้า หมายถึง เขวี้ยงไปทางเขา เขวี้ยงเข้าหาเขา ในขณะที่ความเห็นที่ (2) มองว่าเปรียบเปรย มีหลายการตีความต่อ เช่น หมายถึง อย่าไปให้อะไรเขา (ถ้าเขาอวยเพื่อหวังประโยชน์) ก็อย่าไปเหลิง ไปไหลตามเขา อย่าให้ในสิ่งที่เขาขอ จงให้เขาผิดหวัง ไม่สมหวังประหนึ่งว่าได้กอดทราย ที่ไม่ได้มีค่าอะไรกลับไป

 

แล้วชมคนอื่นได้ไหม? การชมโดยทั่วไปแล้วไม่ควร เหมือนที่อิมามอัลบะฆอวีย์ ได้กล่าวไว้ใน ชัรหุสสุนนะฮฺ 13/151 ว่า

 

وفي الجملة المدح والثناء على الرجل مكروهٌ ، لأنه قلما يسلم المادح من كذب يقوله في مدحه ، وقلما يسلم الممدوح من عجب يدخله 

          “การชมผู้อื่น โดยทั่วไปแล้ว ไม่สนับสนุน เพราะน้อยเหลือเกินที่คนชมจะพ้นจากการโกหก และน้อยยิ่งนักที่คนถูกชม จะปลอดภัยจากการเหลิง การกระหยิ่มใจ”

 

ดังนั้น การชมต้องชมอย่างสร้างสรรค์ ดูประโยชน์ที่ผู้ถูกชมจะได้ด้วย บางสถานการณ์อาจสนับสนุนให้ชม เช่น ต่อคนที่ไม่มีกำลังใจในชีวิต คิดลบกับตัวเอง มองไม่เห็นข้อดีของตัวเอง หรือไม่มีแรงบันดาลใจ บางสถานการณ์ก็อาจอยู่ในข่ายอนุญาต

 

อีมามอันนะวะวีย์ ได้ระบุเงื่อนไขการชมว่า


جَوَازُ مَدْحِ الْإِنْسَانِ فِي وَجْهِهِ إِذَا أُمِنَ عَلَيْهِ الْإِعْجَابُ وَغَيْرُهُ مِنْ أَسْبَابِ الْفِتْنَةِ.

          “อนุญาตให้ชม ถ้าคิดว่าไม่เอื้อต่อการเหลิง หรือหลงตัวเอง หรืออื่น ๆ ในเป็นสาเหตุต่าง ๆ ของฟิตนะฮฺ”

วิธีการชมคือ พยายามใช้คำพูดว่า


أحسبه كذا وكذا والله حسيبه ولا أزكي على الله أحدا 

          “ฉันคิดว่าเขาเป็นเช่นนี้ เช่นนั้น และอัลลอฮฺเป็นผู้ตัดสินเขา และเราไม่ยกย่องตัดสินผู้ใด”

 

ซึ่งสำนวนเหล่านี้ มีบันทึกในฮะดีษ ที่รายงานโดยบุคอรีย์ ส่วนผู้ถูกชม ก็สมควรที่จะกล่าวเหมือนบรรดาสลัฟที่พวกเขามักกล่าวเวลาถูกชม ว่า


اللَّهمّ لا تُؤَاخِذْنِي بِمَا يَقُولُونَ وَاغْفِرْ لِي مَا لا يَعْلَمُونَ

          “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์อย่าได้ถือโทษเราเลย กับสิ่งที่พวกเขาได้กล่าวชม และขอพระองค์ทรงอภัยให้เรา ในสิ่งอื่น ๆ ที่เขาไม่ทราบ”

 

บางสำนวนเพิ่มประโยคที่ว่า


وَاجْعَلْنِي خَيْرًا مِمَّا يَظُنُّونَ

“และขอพระองค์ทรงทำให้เรา ดีกว่าที่พวกเขานึกคิดเกี่ยวกับเราด้วยเถิด”

 

การชม ต้องใช้ให้เป็น ใช้ให้สร้างสรรค์ เพราะคำชม เป็นได้ทั้งการสร้าง และเป็นได้ทั้งการทำลาย เมื่อใช้ผิด ประหนึ่งคือการฆ่าพี่น้องทางอ้อม

 

มีบางรายงานว่า

المدح هو الذبح
การชม คือการเชือดคนให้ตาย

 

error: ขอบคุณที่ติดตามครับ