SOUTH : ผู้ช่วยฯฝ่ายการเมือง OIC ชื่นชมการดูแลประชากรมุสลิมในไทย เผย ม.ฟาฏอนี เป็นแหล่งเรียนรู้วิชาก…
WHITEINFO : โรคกระดูกพรุน
กระดูก พรุน คือ ภาวะที่มีเนื้อกระดูกบางตัวลง เนื่องจากมีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการทำลายกระดูก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการหัก หรือยุบตัวได้โดยง่าย จุดที่มีการหักบ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ก่อให้เกิดปัญหาในผู้สูงอายุ ซึ่ง 50% ของสตรีที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นโรคกระดูกพรุน
ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีปัญหาอะไรบ้าง
- ปวดหลัง กระดูกสันหลังยุบตัวลง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง
- กระดูกแขนขาเปราะ และหัก ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการพิการเดินไม่ได้
- อาการแทรกซ้อนจากกระดูกหัก เช่น ปอดบวม แผลกดทับ ติดเชื้อ แขนขาใช้งานไม่ได้ ทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตได้โดยง่าย
เราจะป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร
ทำได้โดยการเริ่มเสริมสร้างให้กระดูกหนาแน่นและแข็งแรง ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว คือ ก่อนอายุ 30 ปี เพราะหลังอายุ 30 ปีแล้ว โอกาสในการเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกทำได้ยาก ทำได้เพียงแต่ชะลอการทำลายกระดูกเท่านั้น
วิธีการป้องกัน คือ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ ละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง ผู้สูงอายุ สตรีวัยหมดประจำเดือนควรออกกำลังกายที่ไม่ลงน้ำหนัก เช่น เดินไกลๆ วิ่งเหยาะ รำมวยจีน เต้นรำ เพื่อป้องกันการสูญเสียกระดูก
- รับประทานเนื้อสัตว์ แป้ง ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีแคลเซียมเช่น ดื่มนมทุกวัน วันละ 1 แก้ว หรือรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน
- ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆได้แก่ งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา ไม่ซื้อยาชุดทานเอง ดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 2 แก้ว ในสตรีวัยหมดประจำเดือนถ้าได้รับฮอร์โมนทดแทน ควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,000 มิลลิกรัม และถ้าไม่ได้รับฮอร์โมนทดแทนควรได้รับวันละ 1,500 มิลลิกรัม
ที่มา : bangkokhealth.com