White Channel

Politics : เปิดโปง NSO : จากเครื่องมือรัฐอิสราเอล สู่การละเมิดสิทธิในไทย

“คดีประวัติศาสตร์” – นี่คือครั้งแรกที่บริษัท NSO Group

ถูกฟ้องร้องโดยผู้ถูกสอดแนมในประเทศไทย

.

การต่อสู้ระหว่างนักกิจกรรมไทยกับยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีสอดแนมของอิสราเอล

.

NSO Group ไม่ใช่แค่บริษัทเอกชนธรรมดา

แต่เป็นแขนขาของรัฐบาลอิสราเอลที่ใช้เทคโนโลยีสอดแนมเป็นเครื่องมือทางการทูต โดยมีรากฐานมาจากหน่วยข่าวกรองไซเบอร์ “Unit 8200”

ของกองทัพอิสราเอล

.

ILAW ได้เปิดเผยว่าในไทยสปายแวร์เพกาซัสถูกนำมาใช้กับนักกิจกรรมและนักการเมืองฝ่ายค้านอย่างน้อย 35 คน

รวมถึง ไผ่ ดาวดิน ที่ถูกแฮกถึง 3 ครั้งในปี 2564

.

สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีนี้ถูกใช้เพื่อคุกคามผู้เห็นต่างทางการเมือง ไม่ใช่เพื่อความมั่นคงอย่างที่อ้าง

.

จากข้อมลทั้งหมดที่เรามี ได้นำไปสู่บทสรุปที่ว่า ทุกข้อมูลที่ผ่านเพกาซัส จะส่งไปสู่อิสราเอล

.

แผนผังลับที่รั่วไหลเปิดเผยความจริงที่น่าตกใจ: ทุกการใช้งานเพกาซัสต้องผ่านระบบคลาวด์และเซิร์ฟเวอร์ของ NSO โดยตรง นั่นหมายความว่า :

.

1. ข้อมูลทั้งหมดที่ถูกดักจับต้องวิ่งผ่านระบบของ NSO

2. บริษัทสามารถเห็นว่าใครถูกสอดแนมบ้าง

3. ข้อมูลอ่อนไหวของคนไทยถูกส่งกลับไปยังอิสราเอล

4. NSO สามารถปิดระบบได้ทันทีหากต้องการ

.

ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์กล่าวว่า

“มันไม่ใช่แค่ซอฟต์แวร์ธรรมดา แต่เป็นระบบควบคุมทางไกลที่ NSO เฝ้าดูทุกการเคลื่อนไหว”

.

ILAW ได้เผยแพร่หลักฐานสำคัญที่เปิดโปง NSOเจ้าของสปายแวร์เพกาซัส เพื่อพิสูจน์ว่าผู้ผลิตต้องมีความรับผิดชอบด้วยต่อการละเมิดในไทย:

.

1. ใบเสนอราคา 350 ล้านบาท ผ่านบริษัทตัวแทนในไทย ใช้ชื่อปลอม “Q Cyber”

2. คำรับสารภาพของตำรวจ บช.ปส. ยอมรับการใช้เพกาซัสในปี 2559-2560

3. แผนผังระบบที่แสดงการควบคุมทั้งหมดผ่านเซิร์ฟเวอร์ของ NSO

4. นโยบายของ NSO เองที่ระบุว่าสามารถควบคุมการใช้งานได้

5. กรรมการสิทธิฯ ระบุชัด NSO ต้องรับผิดชอบ ปฏิเสธไม่ได้

.

นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา กลายเป็นคนแรกในไทยที่ลุกขึ้นมาฟ้อง NSO เรียกร้องค่าเสียหาย 2.5 ล้านบาท พร้อมขอให้ศาลสั่งยุติการละเมิดสิทธิคนไทย

.

“การฟ้องร้องครั้งนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของผม แต่เป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิของทุกคน” นายจตุภัทร์กล่าว “เราต้องหยุดยั้งไม่ให้เทคโนโลยีกลายเป็นอาวุธทำลายประชาธิปไตย”

.

ศาลแพ่งนัดสืบพยานในเดือนกันยายน 2567 คำตัดสินในคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานสำคัญของโลก ในการกำหนดว่าบริษัทเทคโนโลยีต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ของตนอย่างไร และจะเป็นการส่งสัญญาณว่าธุรกิจสอดแนมไม่สามารถหลบซ่อนอยู่เบื้องหลังข้ออ้าง “เราแค่ขายสินค้า” ได้อีกต่อไป

.

การฟ้องร้องในคดีนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการร่วมกันสืบสวนระหว่างไอลอว์ Digital Reach และ Citizen Lab จนนำไปสู่การเผยผลตรวจสอบการถูกเจาะระบบด้วยสปายแวร์เพกาซัสที่นักกิจกรรม นักข่าว นักวิชาการ และนักการเมืองในประเทศไทยตกเป็นเหยื่อของสปายแวร์ชนิดนี้อย่างน้อย 35 คน

หนึ่งในเหยื่อที่ได้รับการยืนยันตามรายงาน “ปรสิตติดโทรศัพท์” คือ ไผ่ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา จตุภัทร์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง NSO Group ต่อศาลแพ่งเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม หลังจากสืบพยานทั้งฝ่ายโจทก์เสร็จสิ้น ศาลแพ่งนัดฟังคำพิพากษาคดีนี้ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567

#ขุนโคบาล

error: ขอบคุณที่ติดตามครับ