สหภาพยุโรปแสดงความยินดีที่ปาเลสไตน์จะจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 14 ปี สำนักข่าวอนาโดลูรายงานว่าโฆษ…
UPDATE : รัฐบาลสหรัฐขึ้นบัญชีดำหน่วยงาน ด้านการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของตุรกี จากความขัดแย้งกรณีรัฐบาลอังการา ซื้อระบบป้องกันทางอากาศ “เอส-400” ของรัสเซีย
-ซึ่งนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รมว.การต่างประเทศของรัสเซีย ระบุว่า “เป็นอีกครั้ง” ที่ “กฎหมู่…อยู่เหนือ…กฎหมายระหว่างประเทศ”
-ด้านประธานาธิบดีรอยับ ฏอยยิบ อัรดุฆอน รู้สึกไม่พอใจที่สหรัฐเดินหน้าคว่ำบาตร ถึงแม้จะถูก สหรัฐและสหภาพยุโรปค่ำบาตร แต่จะไม่สามารถขัดขวาง การปกป้องสิทธิตนเองของตุรกีได้
.
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.63 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐออกแถลงการณ์ เมื่อวันจันทร์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 231 ของกฎหมายว่าด้วย “การตอบโต้ศัตรูของอเมริกาผ่านมาตรการคว่ำบาตร” ( ซีเอเอทีเอสเอ ) ฉบับปี 2560 ให้มีผลต่อรัฐบาลตุรกีของประธานาธิบดีรอยับ ฏอยยิบ อัรดุฆอน จากกรณีรัฐบาลอังการาจัดซื้อระบบป้องกันทางอากาศเอส-400 ของรัสเซีย
.
ทั้งนี้ รัฐบาลวอชิงตันให้เหตุผลประกอบการคว่ำบาตรครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรก ที่มีการใช้อำนาจจากกฎหมายดังกล่าว ว่าเป็นเพราะระบบเอส-400 เป็นยุทโธปกรณ์ “ที่ไม่สอดคล้อง” กับเทคโนโลยีซึ่งใช้ในบรรดาสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ( นาโต ) และระบบเอส-400 “คือภัยคุกคาม” ต่อเสถียรภาพการเป็นพันธมิตรทางทหารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างทวีปยุโรปกับอเมริกา
.
สำหรับเป้าหมายของการคว่ำบาตรครั้งนี้ไม่ใช่ตัวผู้นำตุรกีโดยตรง แต่เน้นไปที่สำนักงานจัดซื้ออาวุธของรัฐบาลอังการา หมายความว่า นับจากนี้ผู้ประกอบการของสหรัฐ ไม่สามารถส่งออกและทำธุรกรรมร่วมกับหน่วยงานแห่งนี้ได้ พร้อมทั้งขึ้นบัญชีดำนายอิสมาอิล เดเมียร์ ประธานของสำนักงาน จากการเดินทางเข้าสหรัฐ และอายัดทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ในอเมริกา
.
ขณะที่นายเซอร์เก ลาฟรอฟ รมว.การต่างประเทศของรัสเซีย กล่าวว่า “เป็นอีกครั้ง” ที่ “กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมายระหว่างประเทศ” ด้านกระทรวงการต่างประเทศของตุรกีออกแถลงการณ์ประณามความเคลื่อนไหวของสหรัฐ “เป็นความผิดพลาดมหันต์” แม้รัฐบาลอังการาพร้อมเจรจาตามหลักการทูต เพื่อร่วมกันจัดการสถานการณ์ด้วยความเหมาะสม แต่ในระหว่างนี้ ตุรกีจะไม่มีทาง “เพิกเฉย” โดยยังไม่มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ประธานาธิบดีรอยับ ฏอยยิบ อัรดุฆอน กล่าวหลังการประชุม ครม. ว่า ตุรกีคาดหวังให้สหรัฐฯสนับสนุน และ ไม่คว่ำบาตรจากการซื้อขีปนาวุธดังกล่าวและ กล่าวอีกว่า “เขารู้สึกไม่พอใจที่วอชิงตันเดินหน้ากระบวนการคว่ำบาตร”
การคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป จะไม่ขัดขวางตุรกี จากการปกป้องสิทธิของตนเอง
อนึ่ง สหรัฐปลดตุรกีออกจากโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาและใช้งานเครื่องบินขับไล่เอฟ-35 เมื่อต้นปีนี้ หลังตุรกีรับมอบระบบเอส-400 ชุดแรกจากรัสเซีย เมื่อปีที่แล้ว และเตรียมสั่งซื้อเพิ่มอีก นอกจากนั้น รัฐบาลอังการายังทดสอบประสิทธิภาพของระบบเอส-400 เมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา.
.
รอยเตอร์