WORLD : เด็กชาวปาเลสไตน์ผู้กล้าหาญยืนหยัดต่อสู้กับกองกำลังยึดครองของอิสราเอลที่ติดอาวุธหนักที่ทางเข้…
การกินโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้มากกว่าที่คิด ได้แก่ ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ 10% ลดปัญหาหลอดเลือดอุดตันลง 13% ยืดอายุไตและไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคร้ายอื่น ๆ
- หากปรุงอาหารเองควรลดปริมาณเครื่องปรุงรสในอาหาร เช่น น้ำปลา ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำมันหอย ผงชูรส และควรตวงก่อนปรุงรสทุกครั้ง
- หากกินข้าวนอกบ้าน ควรหลีกเลี่ยงการปรุงรสเพิ่มหลีกเลี่ยงการเติมพริกน้ำปลา ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ และไม่ควรซดน้ำแกงหรือน้ำซุปจนหมด เพราะโซเดียมจากเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะละลายอยู่ในน้ำแกงหรือซุป ซึ่งหากเป็นไปได้ควรประกอบอาหารกินเองแทนการกินข้าวนอกบ้าน
- ถ้าต้องกินอาหารนอกบ้าน ก็ควรชิมอาหารก่อนเติมเครื่องปรุงทุกครั้งและควรปรับพฤติกรรมการกิน โดยปรุงน้อย ๆ ไม่เติมน้ำปลาหรือซอสต่าง ๆ ตามชอบใจ รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการเติมน้ำจิ้มในอาหารต่าง ๆ และไม่ควรกินอาหารจำเจอย่างเดียว
- หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสจัด อาหารหมักดองแช่อิ่ม อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว หรือเลือกกินอาหารธรรมชาติ แต่ถ้าจำเป็นต้องกิน ควรอ่านฉลากโภชนาการทุกครั้ง แล้วเลือกอาหารที่มีโซเดียมน้อยที่สุด
- ควรลดการกินขนมหวานที่มีโซเดียมเช่น กล้วยบวชชี และอาหารที่มีโซเดียมแฝง ขนมอบทุกชนิดที่ใส่ผงฟู เช่น ขนมปัง เค้ก คุ้กกี้ โดนัท พาย ซาลาเปา เป็นต้น
ที่มา : thaihealth.or.th