การเติบโตของการเงินอิสลามในภูมิภาคสภาความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ (GCC) กำลังเติบโตเร็วกว่าธนาคารแบบดั้งเดิม โดยได้รับแรงหนุนจากหลายปัจจัยหลัก ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นไปตามหลักชารีอะห์ ตามรายงานจาก Moody’s Ratings ธุรกิจจัดอันดับเครดิตพันธบัตร ระบุว่าซาอุดีอาระเบียเป็นผู้นำในภูมิภาค โดยมีการเจาะตลาดการเงินอิสลามถึง 85% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน คูเวต และกาตาร์ ก็มีแนวโน้มการเติบโตที่โดดเด่นเช่นกัน
ธนาคารอิสลามในภูมิภาค GCC มีความสามารถในการทำกำไรที่แข็งแกร่ง พร้อมคาดการณ์ว่าธนาคารอิสลามจะรักษาความสามารถในการทำกำไรในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า เนื่องจากรัฐบาลในภูมิภาคพยายามกระจายเศรษฐกิจและเพิ่มกิจกรรมการค้า ซึ่งส่งผลให้มีการสนับสนุนการขยายตัวของการเงินอิสลาม และการลงทุนในโครงการต่างๆ ภายใต้ Vision 2030 ของซาอุฯ
ในโอมาน ตัวเลขการเติบโตของธนาคารอิสลามในปี 2023 ชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง สินทรัพย์ของธนาคารอิสลามในโอมานเพิ่มขึ้นถึง 18.1% โดยมีมูลค่าสินทรัพย์รวมกว่า 20.2 พันล้านดอลลาร์ การเติบโตนี้เป็นการบ่งชี้ว่าการเงินอิสลาม ยังคงเป็นทางเลือกที่สำคัญในระบบการเงินของภูมิภาค